เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 8. ทันตกัฏฐสูตร
8. ทันตกัฏฐสูตร
ว่าด้วยไม้สีฟัน
[208] ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน 5 ประการนี้
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตาฝ้าฟาง
2. ปากเหม็น
3. ประสาทที่นำรสอาหาร ไม่หมดจดดี
4. ดีและเสมหะหุ้มห่ออาหาร
5. อาหารไม่อร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย โทษของการไม่เคี้ยวไม้สีฟัน 5 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน 5 ประการนี้
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตาสว่าง
2. ปากไม่เหม็น
3. ประสาทที่นำรสอาหาร หมดจดดี
4. ดีและเสมหะไม่หุ้มห่ออาหาร
5. อาหารอร่อยแก่เขา
ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของการเคี้ยวไม้สีฟัน 5 ประการนี้แล
ทันตกัฏฐสูตรที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :351 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [5. ปัญจมปัณณาสก์] 1. กิมพิลวรรค 10. มุฏฐัสสติสูตร
9. คีตัสสรสูตร
ว่าด้วยโทษของการแสดงธรรมด้วยเสียงขับยาว
[209] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาว1 มีโทษ 5 ประการนี้
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. แม้ตนเองก็กำหนัดในเสียงนั้น
2. แม้ผู้อื่นก็กำหนัดในเสียงนั้น
3. แม้พวกคหบดีก็ตำหนิว่า ‘พวกสมณศากยบุตรเหล่านี้ ย่อมขับ
เหมือนพวกเรา’
4. เมื่อภิกษุพอใจการทำเสียง ความเสื่อมแห่งสมาธิ2ย่อมมี
5. หมู่คนรุ่นหลังพากันตามอย่าง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กล่าวธรรมด้วยเสียงขับยาวมีโทษ 5 ประการนี้แล
คีตัสสรสูตรที่ 9 จบ

10. มุฏฐัสสติสูตร
ว่าด้วยภิกษุผู้หลงลืมสติ
[210] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะนอนหลับ มีโทษ
5 ประการนี้
โทษ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. หลับเป็นทุกข์ 2. ตื่นเป็นทุกข์
3. ฝันลามก 4. เทวดาไม่รักษา
5. น้ำอสุจิเคลื่อน

เชิงอรรถ :
1 เสียงขับยาว หมายถึงการขับทำนองที่ทำให้อักขระเพี้ยนไปจนเป็นเหตุทำลายวัตร (ข้อปฏิบัติ) ที่ปรากฏ
ในพระสูตร ปรากฏในคาถาให้สูญหายไป (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/209/87, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/209-210/95)
2 หมายถึงจิตในระดับสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนากัมมัฏฐานต้องมีอันเสื่อมไป (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/209/87)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :352 }